..แผนกประกันคุณภาพการศึกษา..

มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนจิตรลดา

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา)



ด้านที่ ๑ มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน

 

มาตรฐานที่ ๑ ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีและมีสุนทรียภาพ

เกณฑ์การประเมิน

๑.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายสม่ำเสมอ
๑.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน
๑.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงตนเองจากสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรค ภัย อุบัติเหตุ และปัญหา ทางเพศ
๑.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ เห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
๑.๕ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้อื่น
๑.๖ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ สร้างผลงานจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์ กีฬา/นันทนาการตามจินตนาการ

มาตรฐานที่ ๒ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์

เกณฑ์การประเมิน

๒.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตร
๒.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ เอื้ออาทรผู้อื่นและกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
๒.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ ยอมรับความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่าง
๒.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ ตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่ ๓ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมิน

๓.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และสื่อต่างๆ รอบตัว
๓.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ มีทักษะในการอ่าน ฟัง ดู พูด เขียน และตั้งคำถามเพื่อค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติม
๓.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อการเรียนรู้ระหว่างกัน
๓.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ ใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน

มาตรฐานที่ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีสติสมเหตุผล

เกณฑ์การประเมิน

๔.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๘๕.๐๐ สรุปความคิดจากเรื่องที่อ่าน ฟัง และดู และสื่อสารโดยการพูดหรือเขียนตามความคิดของตนเอง
๔.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๘๕.๐๐ นำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง
๔.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๘๕.๐๐ กำหนดเป้าหมาย คาดการณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยมีเหตุผลประกอบ
๔.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๘๕.๐๐ มีความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ

มาตรฐานที่ ๕ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

๕.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๕๐.๐๐ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยแต่ละกลุ่มสาระเป็นไปตามเกณฑ์
๕.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๕๐.๐๐ ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์
๕.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๕๐.๐๐ ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็นไป ตามเกณฑ์
๕.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๕๐.๐๐ ผลการทดสอบระดับชาติเป็นไปตามเกณฑ์

มาตรฐานที่ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และ มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

เกณฑ์การประเมิน

๖.๑ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ วางแผนการทำงานและดำเนินการจนสำเร็จ
๖.๒ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ ทำงานอย่างมีความสุข มุ่งมั่นพัฒนางาน และภูมิใจในผลงาน ของตนเอง
๖.๓ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
๖.๔ ผู้เรียนร้อยละ ๙๐.๐๐ มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพ ที่ตนเองสนใจ

ด้านที่ ๒ มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ ๗ ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

เกณฑ์การประเมิน

๗.๑ ครูร้อยละ ๙๐.๐๐ มีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๗.๒ ครูร้อยละ ๙๐.๐๐ มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล และใช้ข้อมูลในการวางแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
๗.๓ ครูร้อยละ ๙๐.๐๐ ออกแบบและการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา
๗.๔ ครูร้อยละ ๙๐.๐๐ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมผนวกกับการนำบริบทและภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
๗.๕ ครูร้อยละ ๙๐.๐๐ มีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
๗.๖ ครูร้อยละ ๙๐.๐๐ ให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค
๗.๗ ครูร้อยละ ๙๐.๐๐ มีการศึกษา วิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการสอน
๗.๘ ครูร้อยละ ๙๐.๐๐ ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของสถานศึกษา
๗.๙ ครูร้อยละ ๙๐.๐๐ จัดการเรียนการสอนตามวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลา เต็มความสามารถ

มาตรฐานที่ ๘ ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและ เกิด ประสิทธิผล

เกณฑ์การประเมิน

๘.๑ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน
๘.๒ ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลผลการประเมินหรือผลการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการ
๘.๓ ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ
๘.๔ ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้พร้อมรับการกระจายอำนาจ
๘.๕ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารการจัดการศึกษา
๘.๖ ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาเต็มศักยภาพและเต็มเวลา

มาตรฐานที่ ๙ คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ชุมชนปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

เกณฑ์การประเมิน

๙.๑ คณะกรรมการสถานศึกษารู้และปฏิบัติหน้าที่ตามที่ระเบียบกำหนด
๙.๒ คณะกรรมการสถานศึกษากำกับติดตาม ดูแล และขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
๙.๓ ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๑๐ สถานศึกษามีการจัดหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนา คุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน

เกณฑ์การประเมิน

๑๐.๑ หลักสูตรสถานศึกษาเหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่น
๑๐.๒ จัดรายวิชาเพิ่มเติมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความถนัด ความสามารถและความสนใจ
๑๐.๓ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ส่งเสริมและตอบสนองความต้องการ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน
๑๐.๔ สนับสนุนให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
๑๐.๕ นิเทศภายใน กำกับ ติดตามตรวจสอบ และนำผลไปปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
๑๐.๖ จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงผู้เรียนทุกคน

มาตรฐานที่ ๑๑ สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและการบริการที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน พัฒนาเต็มศักยภาพ

เกณฑ์การประเมิน

๑๑.๑ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ อาคารเรียนมั่นคง สะอาดและปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก พอเพียง อยู่ในสภาพใช้การได้ดี สภาพแวดล้อมร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน
๑๑.๒ จัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน
๑๑.๓ จัดห้องสมุดที่ให้บริการสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและหรือเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

มาตรฐานที่ ๑๒ สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

เกณฑ์การประเมิน

๑๒.๑ กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๑๒.๒ จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๑๒.๓ จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
๑๒.๔ ติดตามตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
๑๒.๕ นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
๑๒.๖ จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน

ด้านที่ ๓ มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

มาตรฐานที่ ๑๓ สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่ง การเรียนรู้

เกณฑ์การประเมิน

๑๓.๑ มีการสร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาและใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและบุคลากรของสถานศึกษา รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง
๑๓.๒ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

ด้านที่ ๔ มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๑๔ การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ปรัชญาและจุดเน้นที่กำหนดขึ้น

เกณฑ์การประเมิน

๑๔.๑ จัดโครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายวิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา
๑๔.๒ ผลการดำเนินงานส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ปรัชญา และจุดเน้นของสถานศึกษา

ด้านที่ ๕ มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม

มาตรฐานที่ ๑๕ การจัดกิจกรรมตามนโยบาย จุดเน้น แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น

เกณฑ์การประเมิน

๑๕.๑ จัดโครงการ กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองนโยบาย จุดเน้น ตามแนวทาง การปฏิรูปการศึกษา
๑๕.๒ ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย

ด้านที่ ๖ มาตรฐานการศึกษาเน้นอัตลักษณ์ของโรงเรียนจิตรลดา

มาตรฐานที่ ๑๖ การจัดการศึกษาทุกระดับของโรงเรียนจิตรลดา มุ่งเน้นให้บุคลากรทุกฝ่ายมี ความเคารพยึดมั่นอย่างสูงสุดต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

เกณฑ์การประเมิน

๑๖.๑ จัดโครงการ งาน กิจกรรมพิเศษเพื่อตอบสนองแนวพระราชดำริ พระบรมราโชบายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนจิตรลดา
๑๖.๒ ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่ส่งเสริมความเคารพยึดมั่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์กับหน่วยงานของราชสำนัก ภาครัฐ หรือเอกชนตามความเหมาะสม